Skip to main content

Posts

Showing posts from June, 2020

It starts with TRUST

เมื่อไม่กี่วันมานี้มีโอกาสได้ฟัง Podcast แล้วทำให้นึกย้อนไปถึง commencemnet speech ที่ได้ฟังตอนรับปริญญาเอกที่ Michigan State University เพราะทั้งสองอันนี้พูดเรื่อง " TRUST " หรือ " ความเชื่อใจ " เหมือนกัน  เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ได้ฟังเรื่อง Trust เป็นครั้งแรก ทำให้เปลี่ยนมุมมองในหลาย ๆ เรื่องไป เพราะ Commencment speaker ชาว Brazil ได้พูดถึงอเมริกาว่าเจริญมาได้ด้วยฐานของความเชื่อใจ เริ่มการทำงานจากการ trust ทำให้ขั้นตอนต่าง ๆ ลดลงเป็นอย่างมาก และยกตัวอย่างเรื่องการใช้ credit card ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีใช้กันแพร่หลายมากนักในประเทศต่าง ๆ ในขณะที่อเมริกามีการใช้กันมาก แม้กระทั่งนักศึกษาในมหาวิทยาลัย และมีร้านค้าที่รับ credit card เป็นจำนวนมาก เรื่องนี้จริง ๆ แล้วเป็น eye opening ที่ถึงแม้อาจจะไม่ได้เปลี่ยนการใช้ชีวิตมากขึ้น เพราะปกติก็ " trust until proven otherwise " อยู่แล้ว เพียงแต่ได้ฉุกคิด และเอามาเป็น guiding principle ในการใช้ชีวิตในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา และค่อย ๆ ปรับไป เช่น ก่อนที่จะ trust จะต้องมีการเช็คเพื่อ validate ก่อนให้แน่ใจว่า trustworthy จากน...

Competency vs. competence

ผลพลอยได้จากการอ่านเพื่อหาความแตกต่างระหว่าง OBE กับ CBE ทำให้นึกถึงอีกคำถามที่สงสัยคือความแตกต่างระหว่าง Competency & Competence ซึ่งได้เคยลองอ่านดู แต่พบว่าหลาย ๆ literature มีความเห็นที่แตกต่างกันไป จึงล้มเลิกความตั้งใจอยากหาคำตอบไป  แต่เมื่อมาอ่านเจออีกครั้ง่ รวมทั้งได้มีโอกาสไปเป็นคณะทำงานจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงแผนการปฏิรูประเทศด้านการศึกษา (คณะทำงานที่ 2) ซึ่งเน้นไปที่การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิต การคัดกรอง การพัฒนา และการบริหารงานบุคคล ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ก็ได้มีการพูดถึงประเด็นนี้ขึ้นมา ประธานคณะทำงาน ศ.ดร. พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ ได้เล่าถึง "definition" ใหม่ของสมรรถนะ รวมทั้งมีการคุยกันว่าเราควรใช้คำว่าสมรรถนะของครูหรือไม่ ก็เลยทำให้จุดประกายความอยากรู้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เริ่มจากคำแปลภาษาไทยก่อนว่า 2 คำนี้แปลไม่เหมือนกัน competency แปลว่าสมรรถนะ ในขณะที่ competence แปลว่าสามัตถิยะ ซึ่งแสดงว่ามันเป็น 2 คำที่แตกต่างกัน Mulenga & Kabombwe (2019) ได้อ้างถึงคำนิยามอย่างง่าย ๆ ที่ Armstrong (2005) ให้ไว้ว่า ⛱ competency is person-related concept ⛱ ...

CBE vs. OBE

ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงการศึกษา โดยออกจาก   content-based education เพราะคิดว่าการสอนซึ่งเน้นเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ มีการสอนและครูเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน และมักขับเคลื่อนด้วย "การสอบ" ซึ่งเคยเหมาะกับยุคสมัยหนึ่ง ซึ่งความรู้หายาก และต้องได้รับการถ่ายทอดจากครูนั้น ไม่เหมาะกับการเรียนรู้ในปัจจุบัน เนื่องมาจาก    📗 ความรู้เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องหาง่าย อยากเรียนรู้อะไรเปิดดูใน internet ก็พอจะหาคำตอบได้    🔎 ผลการประเมินการสอบ ไม่สามารถบอกได้ว่า ผุ้เรียนจะทำงานได้เป็นอย่างไรในสถานการณ์จริง     🧠 การเรียนแบบนี้ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ critical thinknig และการตัดสินใจ    🗺 การเรียนแบบนี้ไม่ตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ เพราะไม่ทำให้คนมีทักษะที่ต้องการ จึงได้มีความพยายามในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การศึกษารูปแบบอื่น ๆ เช่น การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-based education, CBE) เช่นในการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดลองใช้เพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการศึกษาทั้งระบ...

Assessment during the time of social distancing

เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2563 ทีมพัฒนาการศึกษา มจธ. ได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้เรื่อง assessment  กับมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จึงได้มีโอกาสเรียบเรียงความรู้เรื่อง assessment จากหลากหลาย แหล่งที่มาเพื่อเตรียม  presentation และในระหว่าง session ได้ฟังจากที่ อ.บัณฑิต และ อ.กลางใจ จึงขอนำมาสรุปไว้เผื่อการใช้ประโยชน์ต่อไป ขอบคุณ อ.วิมลศิริ กับน้อง ๆ GEO ที่ช่วยดำเนินรายการ และจดสรุปไว้ให้ ทำให้ตอนมาเรียบเรียงง่ายขึ้นมาก โดยทำออกมาเป็น 2 post คือ Assessment - the basic concept และ Assessment during the time of social distancing (post นี้) โดยสามารถดูวิดีโอการแบ่งปันความรู้ได้จาก   link  นี้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเเป็นที่มาของ social distancing การสั่งห้ามมีการเรียนการสอนในสถานศึกษายกเว้นการเรียนการสอน online  นั้น ทำให้ต้องมีการปรับตัวกันอย่างใหญ่หลวงในการปรับการเรียนการสอน รวมถึงการวัดและประเมินผล ในสภาะวการณ์เช่นนี้ เราอาจต้องแยกการวัดและการประเมินผลออกจากกัน การวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอาจจะยังทำได้ แต่การประเมินผล โดยเฉพาะการประเมินผลโดยก...

#BlackLivesMatter - my reflection

♰ George Floyd death (May 25, 2020) together with the widespread of social media bought about the hashtag #BlackLivesMatter that spread across platforms.  It also brought people out on the street despite the event of COVID-19. I believe that no-one deserve to have been through what  George Floyd had gone through before his passing from this world regardless of their skin colours.  The act itself is cruel especially when it has not been proved that he has been a threat to the immediate surroundings.  Even if he is not a black, I would have felt the same.  It is not the racism but it was the violence that should be condemn.  This violence has been worsen because the "black" and the "police" is prejudiced with certain behaviour mindset or stereotype.  This results in people pouring out to  the street to call for justice amidst the spread of COVID-19. I agree with how they want to righten things but not necessarily agree with the mean of doing it pa...

Assessment - the basic concept

เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2563 ทีมพัฒนาการศึกษา มจธ. ได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้เรื่อง assessment  กับมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จึงได้มีโอกาสเรียบเรียงความรู้เรื่อง assessment จากหลากหลาย แหล่งที่มาเพื่อเตรียม  presentation และในระหว่าง session ได้ฟังจากที่ อ.บัณฑิต และ อ.กลางใจ จึงขอนำมาสรุปไว้เผื่อการใช้ประโยชน์ต่อไป ขอบคุณ อ.วิมลศิริ กับน้อง ๆ GEO ที่ช่วยดำเนินรายการ และจดสรุปไว้ให้ ทำให้ตอนมาเรียบเรียงง่ายขึ้นมาก โดยทำออกมาเป็น 2 post คือ Assessment - the basic concept (post นี้) และ Assessment during the time of social distancing โดยสามารถดูวิดีโอการแบ่งปันความรู้ได้จาก   link นี้ Assessment vs. Evaluation 🔎 Assessment เป็นการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการใช้ผลดังกล่าวไปพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ และการวพัฒนาเส้นทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการวัดผลไม่จำเป็นต้องเป็นการสอบเพียงอย่างเดียว แต่การสอบอาจจะยังเป็นส่วนหนึ่งของ assessment ได้ 🔎 Evaluation ต่างจาก assessment  เพราะ evaluation เน้นที่การตัดสินผล เ...

From OLE to Constructive alignment

เมื่อพวกเราพูดเรื่องการออกแบบการเรียนการสอนแบบ constructive alignment ใน outcome-based education มักจะมีคนถามพวกเราเสมอว่าแล้วมันต่างกันยังไงกับแบบเดิม ๆ ที่ทำอยู่ จริง ๆ แล้วมันมีทั้งความคล้ายและความแตกต่างกันอยู่ วันก่อนได้ยิน อ.บัณฑิต ทิพากร บรรยายให้มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ฟังแล้วพูดถึงความแตกต่างไว้ชัดเจน ประกอบกับได้ไปอ่าน บทความของ John Biggs ใน Higher Education Academy (ตอนนี้เปลี่ยนเป็น Advance HE) จึงคิดว่าควรจะสรุปไว้เป็นบันทึกช่วยจำ หลักการออกแบบการเรียนการสอนอาจมีหลากหลายวิธี แต่จากการทำงานในด้านการศึกษามาคนมักพูดกันถึง 2 หลักการ คือ OLE และ Constructive alignment OLE เป็นหลักการดั้งเดิมที่ถูกใช้กันมานาน ย่อมาจากคำว่า Objectives, Learning activities และ  Evaluation เมื่อแปลงออกมาเป็นขั้นตอนการปฏิบัติแล้วก็จะเรียงตามคำเหล่านั้นเลย คือเริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ (ซึ่งในสมัยก่อนหลายคน - รวมถึงตัวเอง - มักตั้งเป็นวัตถุประสงค์ของการสอน) จากนั้นจึงคิดว่าจะสอนให้ได้ตามวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร จากนั้นแล้วจึงคิดว่าเราจะประเมินผลอย่างไร เมื่อมีการ...