เมื่อพวกเราพูดเรื่องการออกแบบการเรียนการสอนแบบ constructive alignment ใน outcome-based education มักจะมีคนถามพวกเราเสมอว่าแล้วมันต่างกันยังไงกับแบบเดิม ๆ ที่ทำอยู่ จริง ๆ แล้วมันมีทั้งความคล้ายและความแตกต่างกันอยู่ วันก่อนได้ยิน อ.บัณฑิต ทิพากร บรรยายให้มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ฟังแล้วพูดถึงความแตกต่างไว้ชัดเจน ประกอบกับได้ไปอ่านบทความของ John Biggs ใน Higher Education Academy (ตอนนี้เปลี่ยนเป็น Advance HE) จึงคิดว่าควรจะสรุปไว้เป็นบันทึกช่วยจำ
หลักการออกแบบการเรียนการสอนอาจมีหลากหลายวิธี แต่จากการทำงานในด้านการศึกษามาคนมักพูดกันถึง 2 หลักการ คือ OLE และ Constructive alignment
OLE เป็นหลักการดั้งเดิมที่ถูกใช้กันมานาน ย่อมาจากคำว่า Objectives, Learning activities และ Evaluation เมื่อแปลงออกมาเป็นขั้นตอนการปฏิบัติแล้วก็จะเรียงตามคำเหล่านั้นเลย คือเริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ (ซึ่งในสมัยก่อนหลายคน - รวมถึงตัวเอง - มักตั้งเป็นวัตถุประสงค์ของการสอน) จากนั้นจึงคิดว่าจะสอนให้ได้ตามวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร จากนั้นแล้วจึงคิดว่าเราจะประเมินผลอย่างไร
เมื่อมีการพูดถึง outcome-based education กันมากขึ้น ทำให้เราได้ยินคำว่า "Constructive alignment" กันมากขึ้น และหลายคนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยก็จะรู้จักเรื่องนี้กันดีเพราะต้องทำทั้งในระดับหลักสูตร และระดับวิชาเรียน Constructive alignment มาจาก 2 ส่วน คือ
หลักการออกแบบการเรียนการสอนอาจมีหลากหลายวิธี แต่จากการทำงานในด้านการศึกษามาคนมักพูดกันถึง 2 หลักการ คือ OLE และ Constructive alignment
OLE เป็นหลักการดั้งเดิมที่ถูกใช้กันมานาน ย่อมาจากคำว่า Objectives, Learning activities และ Evaluation เมื่อแปลงออกมาเป็นขั้นตอนการปฏิบัติแล้วก็จะเรียงตามคำเหล่านั้นเลย คือเริ่มจากการตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ (ซึ่งในสมัยก่อนหลายคน - รวมถึงตัวเอง - มักตั้งเป็นวัตถุประสงค์ของการสอน) จากนั้นจึงคิดว่าจะสอนให้ได้ตามวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร จากนั้นแล้วจึงคิดว่าเราจะประเมินผลอย่างไร
เมื่อมีการพูดถึง outcome-based education กันมากขึ้น ทำให้เราได้ยินคำว่า "Constructive alignment" กันมากขึ้น และหลายคนที่อยู่ในมหาวิทยาลัยก็จะรู้จักเรื่องนี้กันดีเพราะต้องทำทั้งในระดับหลักสูตร และระดับวิชาเรียน Constructive alignment มาจาก 2 ส่วน คือ
- Constructive เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน มาจากคำว่า "construct meaning" คือผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายให้กับสิ่งที่เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งสื่อให้เห็นว่ามันไม่ได้เป็นการส่งผ่านความรู้ ครูเป็นเพียง "catalyst" ของการเรียนรู้
- Alignment เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับครู โดยครูจะจัดการวัดผล และจัดสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนด
Constructive alignment เขียนออกมาในรูปของสามเหลี่ยมการเรียนรู้ได้ดังภาพ ซึ่งสื่อความหมายถึงความเชื่อมโยงของทั้งประเด็นคือ learning outcomes, assessment และ learning activities แต่ขั้นตอนและรายละเอียดในการคิดจะแตกต่างจาก OLE คือ เริ่มต้นด้วย learning outcomes (แทน objectives) และดูว่าจะประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างไรหรือใช้หลักฐานอะไร (assess) แล้วจึงคิดว่าจะต้องทำอย่างไรในการสนับสนุนผู้เรียนเพื่อให้สามารถมีหลักฐานในการเรียนรู้ได้ตามที่กำหนด ซึ่งกลับกับ OLE ที่จะออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ก่อน แล้วจึงออกแบบกิจกรรมที่จะใช้ในการตัดสินผล (evaluation) ตามมาภายหลัง
ขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้โดยใช้ Constructive alignment
1. จัดทำ learning outcomes (หรือบางครั้งเรียกว่า intended learning outcomes หรือ expected learning outcomes)
คำจำกัดความของ Learning outcomes คือ "statements that describe significant and essential learning that learners have achieved and can reliably demonstrate at the end of a learning experience"
การเขียน learning outcomes นั้น เราจะต้องแยกให้ได้ก่อนว่าความรู้มี 2 ลักษณะคือ declarative knowledge และ functioning knolwedge โดย declarative knowledge คือความรู้ที่เราสามารถบอกคนอื่นได้ เช่น ผ่านการเขียน หรือพูด แต่ปกติแล้วเราจะไม่ได้เรียนรู้ไปเพื่อเอาไว้บอกคนอื่นเท่านั้น แต่เรามักจะต้องเน้นการนำความรู้ไปใช้ คือ functioning knowledge ดังนั้นใน learning outcomes เราจึงต้องมีการบอกระดับของ performance ที่เกิดจากความรู้ที่ได้มา โดยใช้ verb ที่เหมาะสมกับระดับที่กำหนด เช่น
- High level verb เช่น reflect, hypothesise, แก้ปัญหาที่ซับซ้อน สร้างทางเลือกใหม่
- Low level verb เช่น บรรยาย ระบุ จำ
โดยปกติแล้วจะใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevant, Time-bound) ในการเขียน learning outcomes โดยเน้นว่จะต้องสามารถแยกผู้เรียนที่ทำได้ดี ทำได้ และทำไม่ได้ ออกจากกัน
2. เลือกวิธีการ assessment
ผุ้เรียนหลายคนเรียนตามสิ่งที่จะสอบหรือวัดผล เพราะฉะนั้นการเลือกวิธีการวัดผลที่เหมาะสม รวมทั้งหลักฐานที่สามารถสะท้อนถึงระดับความสามารถใน learning outcomes หนึ่ง ๆ นั้น นอกจากจะช่วยทำให้เราวัดผลได้ชัดเจนตรงตาม learning outcomes แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะดังกล่าวได้จริงอีกด้วย Assessment ที่จะพูดถึงนี้เน้นที่เรื่องการวัดการเรียนรู้ และความก้าวหน้าของการเรียนรู้ จากนั้นจึงมาใช้ต่อในการตัดสินผล (evaluation) ว่าผู้เรียนได้เกรดอะไร ผ่านหรือไม่ผ่าน
3. เลือกวิธีการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมทำให้ผู้เรียนได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ โดยการเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้จะต้องเป็นวิธีที่ทำให้ผู้เรียนได้มีส่วร่วม ซึ่งผู้เรียนแต่ละแบบก็จะมีวิธีการ engage ผู้เรียนที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการออกแบบการจัดการเรียนรู้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งควรจะนึกถึงกิจกรรมภายนอกห้องเรียนด้วย เช่น การทำ peer teaching, independent learning และ work-based learning เป็นต้น
ผุ้เรียนหลายคนเรียนตามสิ่งที่จะสอบหรือวัดผล เพราะฉะนั้นการเลือกวิธีการวัดผลที่เหมาะสม รวมทั้งหลักฐานที่สามารถสะท้อนถึงระดับความสามารถใน learning outcomes หนึ่ง ๆ นั้น นอกจากจะช่วยทำให้เราวัดผลได้ชัดเจนตรงตาม learning outcomes แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะดังกล่าวได้จริงอีกด้วย Assessment ที่จะพูดถึงนี้เน้นที่เรื่องการวัดการเรียนรู้ และความก้าวหน้าของการเรียนรู้ จากนั้นจึงมาใช้ต่อในการตัดสินผล (evaluation) ว่าผู้เรียนได้เกรดอะไร ผ่านหรือไม่ผ่าน
การวัดผล ควรทำในรูปแบบของ formative assessment ซึ่งเป็นการวัดเป็นระยะ เพื่อให้เห็นความก้าวหน้าที่ชัดเจน และช่วยให้รู้ว่าจะต้องช่วยผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้มีสมรรถนะตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ตั้งไว้
3. เลือกวิธีการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมทำให้ผู้เรียนได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ โดยการเลือกวิธีการจัดการเรียนรู้จะต้องเป็นวิธีที่ทำให้ผู้เรียนได้มีส่วร่วม ซึ่งผู้เรียนแต่ละแบบก็จะมีวิธีการ engage ผู้เรียนที่แตกต่างกันไป ดังนั้นการออกแบบการจัดการเรียนรู้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้จักวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียน รวมทั้งควรจะนึกถึงกิจกรรมภายนอกห้องเรียนด้วย เช่น การทำ peer teaching, independent learning และ work-based learning เป็นต้น
Comments
Post a Comment