Skip to main content

CBE vs. OBE

ประเทศไทยกำลังมุ่งสู่การเปลี่ยนแปลงการศึกษา โดยออกจาก  content-based education เพราะคิดว่าการสอนซึ่งเน้นเนื้อหาวิชาเป็นสำคัญ มีการสอนและครูเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้เรียน และมักขับเคลื่อนด้วย "การสอบ" ซึ่งเคยเหมาะกับยุคสมัยหนึ่ง ซึ่งความรู้หายาก และต้องได้รับการถ่ายทอดจากครูนั้น ไม่เหมาะกับการเรียนรู้ในปัจจุบัน เนื่องมาจาก
   📗 ความรู้เดี๋ยวนี้เป็นเรื่องหาง่าย อยากเรียนรู้อะไรเปิดดูใน internet ก็พอจะหาคำตอบได้
   🔎 ผลการประเมินการสอบ ไม่สามารถบอกได้ว่า ผุ้เรียนจะทำงานได้เป็นอย่างไรในสถานการณ์จริง 
   🧠 การเรียนแบบนี้ไม่ได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้ critical thinknig และการตัดสินใจ
   🗺 การเรียนแบบนี้ไม่ตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ เพราะไม่ทำให้คนมีทักษะที่ต้องการ

จึงได้มีความพยายามในการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การศึกษารูปแบบอื่น ๆ เช่น การศึกษาฐานสมรรถนะ (Competency-based education, CBE) เช่นในการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดลองใช้เพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการศึกษาทั้งระบบ และการศึกษาที่ใช้ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นฐาน (Outcome-based education, OBE) ที่สถาบันอุดมศึกษาได้นำมาใช้มาหลายปีแล้ว แต่เราก็ยังเหมือนนับหนึ่งกันอยู่ คงมีคนไม่น้อยที่สงสัยว่าแล้ว CBE กับ OBE มันคือเรื่องเดียวกันรึเปล่า ทำไมการศึกษาส่วนนึงใช้ CBE และอีกส่วนใช้ OBE คำถามแรก ตอบได้ด้วย literature ที่ไปหาอ่านมาและนำมาสรุปไว้ใน post นี้ แต่คำถามหลังไม่แน่ใจว่ามีคำตอบ 

ใน literature ที่ได้ไปอ่านมามีทั้งบอกว่า CBE เหมือน และต่างจาก OBE จริง ๆ แล้วคงเป็นเพราะมุมมองผู้เขียนที่ต่างกันของคำว่า "ต่าง" เพราะจริง ๆ แล้วมันมีทั้งคำว่าเหมือนและคำว่าต่างอยู่ด้วยกัน และผู้เขียนที่บอกว่า CBE กับ OBE เหมือนกัน ก็ยังอธิบายความแตกต่างอยู่ในตัวเนื้อหาอยู่ด้วย 

หลักการของ CBE กับ OBE มีความคล้ายคลึงกันมากคือ "Begins with the end in mind" คือเอา competency หรือ learning outcomes เป็นตัวตั้ง แล้วจึงออกแบบย้อนกลับ (Backward design) ไปหาวิธีการประเมิน และวิธีการเสริมสร้างการเรียนรู้ให้สอดคล้องกัน เน้นที่การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญว่าจะต้องทำให้เกิด learning outcomes และสมรรถนะได้จริง และการได้มาของ learning outcomes & competency นั้นจะต้องมีความเกี่ยวข้อง เชื่อมโยงกับชีวิตจริง เช่นเป็นควาามต้องการผู้ใช้บัณฑิต หรือความต้องการของอุตสาหกรรมเป็นต้น ด้วยความเหมือนกัน Mulenga & Kabombwe (2019) สรุปว่าสองคำนี้ไม่ต่างกันและใช้สลับกันไปมาใน article ที่เขียนขึ้น และได้ใช้ 3 premises ของ OBE ที่ Spady ได้เขียนเอาไว้ก่อนหน้านี้สำหรับ CBE ซึ่งประกอบไปด้วย
  1. All learners can learn and succeed but not on the same day or in the same way หมายความว่าผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้และได้ learning outcome หรือมีสมรรถนะตามที่กำหนดไว้ได้ แต่อาจจะไม่ได้ทำได้พร้อมกัน เพราะพื้นฐานและความสามารถในการเรียนรู้ที่ต่างกัน อีกทั้งยังมี learning preference ที่ต่างกัน ทำให้วิธีเรียนรู้แตกต่างกัน
  2. Success breeds success คือการประสบความสำเร็จมันเป็นเหมือนปฏิกริยาลูกโซ่ เมื่อผู้เรียนประสบความสำเร็จแล้วครั้งนึง ก็จะมีกำลังใจในการทำสิ่งที่ยากขึ้นเพื่อให้สำเร็จต่อไปเรื่อย ๆ 
  3. School control the conditions of success  การที่เด็กทุกคนจะทำให้สำเร็จได้ "school" ซึ่งในที่นี้หมายถึงตั้งแต่ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่ในโรงเรียน มีส่วนจะต้องช่วยสนับสนุน โดยจะต้องสภาพแวดล้อมเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และทักษะที่จะทำให้ประสบความสำเร็จในสังคมต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในความเหมือนก็มีความต่างเช่นกัน CBE  เกิดมาจากการเปลี่ยนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ให้เป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ที่ได้จากการวิเคราะห์งานที่ทำให้ออกมาเป็นส่วนย่อย ๆ จึงเน้นเรื่องการพัฒนาทักษะการทำงานเชิงเทคนิค และการทำตามขั้นตอน (ซึ่งฟังดูเหมือนการวิเคราะห์งานที่เรียกว่า functional analysis ที่จะแตกงานออกมาผ่าน key purpose, key role, key function, unit of competence, และ element of competence ที่ใช้ในการพัฒนามาตรฐานอาชีพ เพราะฉะนั้น CBE จึงเน้นที่การทำให้มีสมรรถนะเพื่อประกอบอาชีพใดอาชีพหนึ่ง)
ในขณะที่ OBE นั้นใช้ outcomes เป็นตัวตั้ง โดย outcomes มี 2 แบบ คือ
🎀 Critical & development outcomes ซึ่งเป็น outcomes ทั่วไป (generic outcomes) โดยมากมักมาจากนโยบายทางการศึกษา ถ้าเทียบแล้ว น่าจะเป็นเหมือนสิ่งที่กำหนดใน KMUTT QF อย่างไรก็ตาม learning outcomes นี้เมื่ออยู่เดี่ยว ๆ จะไม่มีความหมายเพียงพอ จึงต้องใส่บริบทไว้ จึงกลายเป็น learning outcome แบบที่ 2 คือ learning outcomes
🎀 Learning outcomes ซึ่งเป็นสิ่งที่บอกว่าผู้เรียนจะต้องสามารถทำอะไรได้หลังจากจบการเรียนรู้ ซึ่งมักจะมีส่วนผสมของ Knolwedge (K), Skill (S) และ Values (V) and attitudes (A) ซึ่งใช้เป็น guide ว่าจะเลือกเอาความรู้อะไรมาสอน และจะสอนด้วยวิธีอะไรเพื่อให้ได้มาซึ่ง learning outcome นั้น ๆ 

Note1 learning outcome จะมีระดับขั้นการเรียนรู้ที่กำหนดด้วย taxonomy ต่าง ๆ เช่น Bloom's Taxonomy, SOLO taxonomy หรือ De Fink's Taxonomy of Significant learning แต่ competency อาจจะไม่มีระดับขั้น ตรงนี้เข้าใจเอาจากหลักการทำมาตรฐานอาชีพว่าเราวิเคราะห์ตามตำแหน่งงานในอาชีพ แต่ตำแหน่งที่สูงขึ้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาสมรรถนะเดิมมาต่อยอด เช่น ช่างพิมพ์ต้อง operatae เครื่องพิมพ์ได้ แต่เมื่อมาเป็นหัวหน้าช่างพิมพ์จะต้องสอนงานลูกน้องได้ ความรู้ในการ operate เครื่องไม่ได้จำเป็นต้องเพิ่มขึ้น (บางทีอาจลดลงเพราะโอกาสการลงมือปฏิบัติมีน้อยลง) แต่ต้องมีทักษะใหม่คือการสอนงานลูกน้อง เป็นต้น

Note2 เรื่อง SKA(&V) เป็นส่วนประกอบสำคัญของทั้ง Learning outcomes & Competence ถูกพูดถึงไว้ว่า
🧠 K (knowledge) คือความรู้ที่ได้จาก "meaningful learning" ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ หรือนำความรู้ไปใช้ การให้ความรู้ยังนับเป็นส่วนสำคัญอยู่แต่ไม่ใช่ "transfer of knowledge" เช่นการ lecture เพียงอย่างเดียว (ครั้งหนึ่งเราเคยให้ชื่อ persona นี้ว่า มังกรพ่นไฟ 🐲🔥)  แต่ต้องทำให้เกิด "insight" ทำให้เกิด "skills" และ "values" และส่งผลกับ "attitudes" ที่จำเป็นในการประสบความสำเร็จ เพราะฉะนั้น K จึงหมายถึงการที่ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ (มากกว่าการรู้ fact)
👍 S (Skill) คือทักษะ ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นสิ่งที่ผู้เรียนทำได้ นอกจาก psychomotor skills ที่ต้องลงมือทำแล้ว เรายังมีเรื่องอื่น ๆ เช่น life skill, learning skill, practical health related skill เป็นต้น
💗 V (Values) & A (Attitudes) เป็นเรื่องหนึ่งที่ทั้งสอนและวัดผลได้ยากมาก Values เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความมุ่งมั่นให้เกิดทำให้เกิดความเป็นเลิศ  สร้างความสัมพันธ์เชิงบวก เป็นพลเมืองที่ดี เคารพ diversity ซึ่ง Values จะแสดงออกมาผ่านทางบุคลิกและพฤติกรรม และเมื่อผู้เรียนรู้สึกซาบซึ้งกับ values ก็ส่งผลต่อไปยังทัศนคติของผู้เรียนต่อไป

💬 สิ่งที่สรุปมานี้ได้จากการอ่านจาก reference ด้านล่าง และประสบการณ์จากการอ่านเรื่องอื่น ๆ ก่อนหน้านี้ การทำหลักสูตร และการทำมาตรฐานอาชีพ เหมือนเป็นการต่อ jigsaw จากหลาย ๆ ชิ้น ที่ถือโอกาสมารวบรวมเอาไว้ด้วยกัน หลายอันจึงเป็นมุมมองของผู้เขียน (ทั้งตัวเอง และผู้เขียนสิ่งที่ได้อ่านมา) เท่านั้น และอาจขัดกับหลัก/หลักฐานอื่น ๆ ไปบ้าง

References:









Comments