Skip to main content

Assessment during the time of social distancing

เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2563 ทีมพัฒนาการศึกษา มจธ. ได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้เรื่อง assessment  กับมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จึงได้มีโอกาสเรียบเรียงความรู้เรื่อง assessment จากหลากหลาย แหล่งที่มาเพื่อเตรียม  presentation และในระหว่าง session ได้ฟังจากที่ อ.บัณฑิต และ อ.กลางใจ จึงขอนำมาสรุปไว้เผื่อการใช้ประโยชน์ต่อไป ขอบคุณ อ.วิมลศิริ กับน้อง ๆ GEO ที่ช่วยดำเนินรายการ และจดสรุปไว้ให้ ทำให้ตอนมาเรียบเรียงง่ายขึ้นมาก โดยทำออกมาเป็น 2 post คือ Assessment - the basic concept และ Assessment during the time of social distancing (post นี้) โดยสามารถดูวิดีโอการแบ่งปันความรู้ได้จาก  link นี้

ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเเป็นที่มาของ social distancing การสั่งห้ามมีการเรียนการสอนในสถานศึกษายกเว้นการเรียนการสอน online  นั้น ทำให้ต้องมีการปรับตัวกันอย่างใหญ่หลวงในการปรับการเรียนการสอน รวมถึงการวัดและประเมินผล

ในสภาะวการณ์เช่นนี้ เราอาจต้องแยกการวัดและการประเมินผลออกจากกัน การวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนอาจจะยังทำได้ แต่การประเมินผล โดยเฉพาะการประเมินผลโดยการสอบ และใช้ผลนั้นเทียบกับเพื่อนคนอื่นอาจเกิดการไม่เป็นธรรม เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันของอุปกรณ์และการเข้าถึงอินเตอร์เนต ทำให้มหาวิทยาลัยในบางประเทศเปลี่ยนจากการให้เกรดมาเป็น S/U  ตามที่เล่าไว้ใน Reform of Assessment แทน ซึ่งจริง ๆ ทางทีมพัฒนาการศึกษาก็ได้พิจารณาเรื่องนี้เช่นกัน แต่พบว่าในขณะนี้เรายังทำไม่ได้ เพราะติดปัญหาหลายประเด็นโดยเฉพาะเด็กที่กำลังลุ้นว่าจะติด pro จะ retire หรือลุ้นจะได้เกียรตินิยม เราจึงได้แต่เพียงปลดล๊อคเรื่องการนำเกรดเฉลี่ยสะสมมามานับในเรื่องการติด pro และการตกออก

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ assessment เอง ก็มีกลยุทธ์การปรับเปลี่ยน โดยแบ่งได้ 3 รูปแบบ คือ
😸Reweighing การปรับสัดส่วนคะแนน โดยลดคะแนนสอบลง เนื่องจากการสอบนั้นทำให้โปร่งใสและยุติธรรมได้ยาก เราจึงไม่ควรให้คะแนนส่วนใหญ่ไปอยู่ที่การสอบดั่งเช่นเดิม
😸 Redesign ข้อนี้นับเป็นข้อที่สำคัญมาก และควรจะเน้นในข้อนี้ให้มาก โดยการออกแบบการประเมินให้สอดคล้องกับ learning outcomes ถ้าทำการสอบต้องเปลี่ยนข้อสอบให้เป็น high order thinking เช่นการประยุกต์ใช้ความรู้ และการวิเคราะห์ เป็นต้น หรืออาจเปลี่ยนการสอบเป็นการทำงานที่ใช้ high order thinking แทน
😸Digitization คือการเปลี่ยนแปลงการวัดผลให้อยู่ในรูปของ digital เนื่องจากเราไม่สามารถมาเรียนได้  ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ มีเรื่องต้องเตรียมการหลายอย่าง และมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ง่าย อันเนื่องจากผู้ใช้ยังไม่คุ้นกับระบบ จึงต้องเตรียมทั้งผู้เรียนและผู้สอนในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนการวัดผลให้อยู่ในรูป digital ก็มีข้อดูหลายอย่าง ทั้งการสร้าง digital literacy การใส่ความคิดสร้างสรรค์ การใส่ข้อกำหนดบางอย่างใน assignment รวมทั้งการติดตามผู้เรียน เทคโนโลยีเปิดโอกาสให้เราได้ทำการประเมินแบบใหม่ ๆ และสร้าง skill ให้ผู้เรียน แต่สิ่งที่ต้องคิดก่อนจะเลือกเทคโนโลยีคือ เราต้องการจะประเมินอะไร แล้วเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาช่วยในการประเมินนั้น

และแน่นอนในหลาย ๆ วิชาผู้สอนยังอยากจะเลือกวิธีการเดิมในการวัดและประเมินผลคือ "การสอบ" ซึ่งก็มีเทคโนโลยีรองรับอยู่มากมาย เช่น

  • App ที่ทำให้ข้อสอบบนกระดาษกลายไปเป็นข้อสอบที่ผู้เรียนทำ online เรื่องนี้นับว่าเป็นเรื่องไม่ยาก และเป็น App ที่เรารู้จักกันอยู่แล้ว เช่น Google Form และ Microsoft Form หรือจะเป็น App ที่คุ้นเคยน้อยกว่า แต่เน้นเรื่องการออกข้อสอบโดยตรง เช่น Classmarker หรือ Quizlet เป็นต้น
  • ระบบที่ช่วยอาจารย์คุมสอบ เช่น Examity, ProctorExam, Exam Plus หรือ Proctor U เป็นต้น ระบบพวกนี้มักต้องใช้ resource มาก ทั้งทางด้านเทคโนโลยี กำลังคน และเวลา (ซึ่งหมายถึงใช้เงินจำนวนมาก)​ รวมทั้งยังต้องมีการติดตั้งระบบ และ hardware ในเครื่องของผู้สอบอีกด้วย
Online Exam จึงเป็นเรื่องที่ราคาแพงมาก อีกทั้งยังก่อให้เกิดความเครียดซึ่งส่งผลกับ performance ของผู้เรียนอีกด้วย มีงานวิจัยของ Woldeab & Brothen ในปี ค.ศ. 2019 ได้กล่าวไว้ว่าการสอบกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นการสอบที่มานั่งที่ห้องสอบและมีผู้คุมสอบ หรือ การคุมสอบแบบ remotely เช่น ระบบที่กล่าวไว้ข้างต้น ต่างทำให้เด็กเกิดความกังวลใจ ซึ่งส่งผลเสียกับ performance ของผู้เรียน โดยผลนี้จะเกิดมากขึ้นในกลุ่มเด็กที่มีความกังวลใจสูงมาก ๆ

นอกจากการจัดสอบ และคุมสอบ online แล้ว ผู้สอนหลายคนก็ให้ผู้เรียนทำงานส่ง โดยเป็นข้อสอบเดิม เพียงแต่ให้ส่งทาง online เท่านั้น และมักมีข้อแม้เดิมเช่น ห้ามลอกกัน กำหนดเวลาส่งที่แน่นอน ส่งหลังจากนี้ไม่รับ (ทำให้ผู้เรียนหลายคนจะส่งงานในเวลาที่ใกล้ ๆ กับเวลาที่กำหนด)
💣 เรื่องการไม่ลอกกัน การไม่ช่วยกันนั้นคงทำได้ยากเพราะคนไทยรักพวกพ้องเพื่อนฝูงมากกว่าสิ่งใด (สมัยเรียนที่อเมริกา เคยได้ข้อสอบ take home มา เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเพื่อน ๆ ฝรั่งได้แล้วเอากลับบ้าน เพื่อนคนไทย + เอเซียอีกบางส่วน ได้แล้วนั่งทำใน office เดียวกัน เสมือนกับทำการบ้านอยู่) การออกข้อสอบอาจต้องทำให้เป็นข้อสอบที่ individualize มากขึ้น หรือต้องให้มีการคิดขั้นสูงเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะทำให้ผู้เรียนไม่ลอกกัน แต่อาจทำให้ผู้สอนทราบได้ว่ามีการลอกกัน เคยได้ยิน อ.ใหม่ ท่านหนึ่งเล่าว่า อาจารย์ออกข้อสอบคำนวณโดยใช้เลขรหัสนักศึกษามาใส่ในโจทย์ ทำให้โจทย์ไม่เหมือนกัน เด็กบางคนไม่สังเกต ลอกของเพื่อน จับได้เลยว่าใครลอกใครมา
💣 เรื่องการกำหนด deadline ในการส่งข้อสอบนั้น เรายังสามารถกำหนด deadline ได้ แต่ยอมให้ผู้เรียนส่งช้า เพราะการกำหนด deadline  ว่าหลังจากนี้ไม่ให้รับข้อสอบ จะทำให้ระบบต้องรับภาระการ upload  ข้อมูลมหาศาลในเวลาเดียวกัน ซึ่งอาจเป็นผลให้ระบบทำงานผิดพลาดได้ อย่างไรก็ตาม ระบบทั่วไปมักมี timestamp ของเวลาส่งงานอยู่แล้ว ผู้สอนควรมีการตกลงกับผู้เรียนไว้ชัดเจนว่าจะมีมาตรการอย่างไรกับคนที่ส่งหลังจากเวลาที่กำหนด

ตัวอย่างการปรับการประเมินผลในรายวิชา Food Packaging ซึ่งเดิมวิชานี้ มีการสอนบางส่วนโดยใช้ Blended Learning  อยู่แล้ว การปรับในส่วนนี้จึงเป็นเพียงการปรับในส่วนของ assessment เท่านั้น
1. การปรับเปลี่ยนการประเมินเรื่องการคาดการณ์การเสื่อมสภาพของอาหาร



2. การปรับการทำวิจัยเพื่อศึกษาผลของบรรจุภัณฑ์






Comments