เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2563 ทีมพัฒนาการศึกษา มจธ. ได้มีโอกาสแบ่งปันความรู้เรื่อง assessment กับมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จึงได้มีโอกาสเรียบเรียงความรู้เรื่อง assessment จากหลากหลาย แหล่งที่มาเพื่อเตรียม presentation และในระหว่าง session ได้ฟังจากที่ อ.บัณฑิต และ อ.กลางใจ จึงขอนำมาสรุปไว้เผื่อการใช้ประโยชน์ต่อไป ขอบคุณ อ.วิมลศิริ กับน้อง ๆ GEO ที่ช่วยดำเนินรายการ และจดสรุปไว้ให้ ทำให้ตอนมาเรียบเรียงง่ายขึ้นมาก โดยทำออกมาเป็น 2 post คือ Assessment - the basic concept (post นี้) และ Assessment during the time of social distancing โดยสามารถดูวิดีโอการแบ่งปันความรู้ได้จาก link นี้
Assessment vs. Evaluation
🔎 Assessment เป็นการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการใช้ผลดังกล่าวไปพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ และการวพัฒนาเส้นทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการวัดผลไม่จำเป็นต้องเป็นการสอบเพียงอย่างเดียว แต่การสอบอาจจะยังเป็นส่วนหนึ่งของ assessment ได้
🔎 Evaluation ต่างจาก assessment เพราะ evaluation เน้นที่การตัดสินผล เน้นไว้ที่เป็นการบอกให้ผู้อื่น (ไม่ใช่ผู้เรียน) ทราบถึงสมรรถนะของผู้เรียน เช่น บริษัทที่ไปสมัครงาน สถาบันการศึกษาที่ไปสมัครเรียนต่อ หรืออาจารย์ในวิชาถัดไป โดยมาก evaluation จะอยู่ในรูปของ เกรด A, B, C... หรือเกรด 4 3 2... หรือ pass/fail ในการให้เกรดนั้น ถ้าจะให้เกรดเหล่านั้นมีความหมายมากยิ่งขึ้น เราควรจะกำหนดว่าว่าเกรดแต่ละตัวมีความหมายในเชิงความสามารถหรือสมรรถนะของผู้เรียนอย่างไรบ้าง คือให้เป็นเกรด แต่เกรดที่เราให้ในแต่ละรายวิชามักจะรวมคะแนนเข้าเรียน การมีส่วนร่วม และจิตพิสัย เข้ามาด้วย
Type of Assessment
การวัดผลแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น การแบ่งตามช่วงเวลาที่ใช้ในการวัดผล และการแบ่งตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเมื่อมาดูแล้วไม่ว่าจะแบ่งแบบใด ก็มีความเกี่ยวข้องกัน
⏰ การแบ่งตามช่วงเวลาที่ใช้ในการวัดผล การใช้เกณฑ์นี้ทำให้แบ่งการวัดผลได้เป็น 3 ประเภทะคือ
Assessment vs. Evaluation
🔎 Assessment เป็นการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการใช้ผลดังกล่าวไปพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ และการวพัฒนาเส้นทางการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการวัดผลไม่จำเป็นต้องเป็นการสอบเพียงอย่างเดียว แต่การสอบอาจจะยังเป็นส่วนหนึ่งของ assessment ได้
🔎 Evaluation ต่างจาก assessment เพราะ evaluation เน้นที่การตัดสินผล เน้นไว้ที่เป็นการบอกให้ผู้อื่น (ไม่ใช่ผู้เรียน) ทราบถึงสมรรถนะของผู้เรียน เช่น บริษัทที่ไปสมัครงาน สถาบันการศึกษาที่ไปสมัครเรียนต่อ หรืออาจารย์ในวิชาถัดไป โดยมาก evaluation จะอยู่ในรูปของ เกรด A, B, C... หรือเกรด 4 3 2... หรือ pass/fail ในการให้เกรดนั้น ถ้าจะให้เกรดเหล่านั้นมีความหมายมากยิ่งขึ้น เราควรจะกำหนดว่าว่าเกรดแต่ละตัวมีความหมายในเชิงความสามารถหรือสมรรถนะของผู้เรียนอย่างไรบ้าง คือให้เป็นเกรด แต่เกรดที่เราให้ในแต่ละรายวิชามักจะรวมคะแนนเข้าเรียน การมีส่วนร่วม และจิตพิสัย เข้ามาด้วย
Type of Assessment
การวัดผลแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น การแบ่งตามช่วงเวลาที่ใช้ในการวัดผล และการแบ่งตามวัตถุประสงค์ ซึ่งเมื่อมาดูแล้วไม่ว่าจะแบ่งแบบใด ก็มีความเกี่ยวข้องกัน
⏰ การแบ่งตามช่วงเวลาที่ใช้ในการวัดผล การใช้เกณฑ์นี้ทำให้แบ่งการวัดผลได้เป็น 3 ประเภทะคือ
- Diagnosis assessment เป็นการประเมินที่ทำก่อนเริ่มจัดการเรียนรู้ เพื่อนำไปออกแบบการเรียนรู้ โดยจะเน้นที่การวัดความรู้พื้นฐานของผู้เรียนว่าเพียงพอต่อการเรียนหรือไม่ และต้องเติมความรู้ในด้านใดให้บ้าง นอกจากนี้ยังอาจเป็นการประเมินความพร้อม และความชอบในการเรียนรู้ของผู้เรียนอีกด้วย ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เกิดการออกแบบการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับผู้เรียน
- Formative assessment เป็นการดูความก้าวหน้าของผู้เรียน โดยมักจะเกิดขึ้นระหว่างเรียนและอาจทำหลายครั้ง โดยในการประเมิน formative assessment นี้จะไม่ได้เน้นว่าจะต้องมีการให้คะแนนเสมอไป (อาจให้เป็น incentive ได้ถ้าต้องการให้แต่อาจไม่ได้เป็นคะแนนการประเมินผลงาน)
- Summative assessment เป็นการวัดผลรวบยอดในตอนสุดท้าย หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการจัดการเรียนรู้
- Assessment of learning มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีหลักฐานในการบอกผู้อื่น เช่น ผู้ปกครอง อาจารย์ท่านอื่นที่ต้องสอนต่อ สถาบันการศึกษาอื่น หรือบริษัทที่จะจ้างงานในอนาคตว่าผู้เรียนมีความสามารถทางวิชาการเป็นอย่างไร เรียนรู้ไปได้มากขนาดไหน ซึ่งก็จะมีลักษณะคล้ายกับ summative assessment
- Assessment for learning มีวัตถุประสงค์เพื่อดูความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน เพื่อให้อาจารย์นำไปพัฒนากลยุทธ์การสอน และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีลักษณะเป็น formative assessment
- Assessment as learning เป็นการให้โอกาสผู้เรียนได้มีโอกาสประเมินและสะท้อนความคิดตนเองในด้านการเรียนรู้ และวางแผนว่าจะเรียนรู้อย่างไรต่อไป ซึ่งก็เข้ากับลักษณะของ formative assessment นั่นเอง
รูปแบบการประเมิน AoL มีได้หลายรูปแบบ รูปแบบที่เราคุ้นกันมากที่สุดคือการสอบ ไม่ว่าจะเป็นสอบกลางภาค สอบปลายภาค หรือสอบเมื่อจบบทเรียน เพื่อเก็บคะแนน หรืออาจเป็นการประเมินผลงานสุดท้ายของรายวิชา หรือของการจัดการเรียนรู้ เช่น การประเมินชิ้นงาน รายงาน โปสเตอร์ หรือ presentation เมื่อนำ AoL หลาย ๆ อันมารวมกัน และอาจรวมกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น การเข้าห้องเรียน คะแนนจิตพิสัย หรือคะแนนการมีส่วนร่วม ก็จะนำไปสู่ evaluation (การตัดสินผล) ต่อไป
การประเมินแบบ AoL นี้ แม้ว่าจะไม่ได้เน้นที่การปรับปรุงการเรียนรู้ของผู้เรียนในเนื้อหาเดิมที่เรียนผ่านมาแล้ว แต่ผลการประเมิน AoL ก็สามารถนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในเรื่องต่อไป หรือสำหรับการจัดการเรียนการสอนในเรื่องเดียวกันนี้สำหรับผู้เรียนรุ่นถัดไปก็ได้
🔎 Assessment for learning (AfL) เน้นที่การพัฒนาผู้เรียนในเนื้อหาที่กำลังเรียนอยู่ จึงรวม diagnosis assessment ซึ่งเป็นการหา learning need ว่าต้องเตรียมผู้เรียนอย่างไรเพื่อให้เรียนหัวข้อนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ formative assessment ซึ่เงป็นการประเมินระหว่างการจัดการเรียนรู้เข้าไว้ใน assessment for learning ข้อมูลที่ได้มาจะนำไปใช้ในการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ผู้เรียน และบอกผุ้สอนว่าจะต้องทำอะไรเพื่อให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าไปจนได้ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามต้องการ ถือว่าเป็นการช่วยกระตุ้นความสนใจและมุ่งมั่นในการเรียนรู้ของผู้เรียน
การทำ AfL ทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการให้ผู้เรียนสรุปเป็นแผนภาพ (เช่น mindmap, sketchnote หรือ concept map) การทำ poll หรือ voting หรือ quiz ในขณะเรียน หรือ การทำ interactive VDO ที่ในระหว่างการดูวิดีโอ จะมี. quiz ขึ้นมาให้เด็กได้ตอบคำถาม ซึ่งนอกจากจะเป็นเช็คความเข้าใจของเด็กแล้ว ยังเป็นการเพิ่ม engagement ไปในขณะเดียวกัน
เมื่อกล่าวถึง AfL ทำให้นึกถึงหนังสือเล่มนึง ชื่อ Learning Assessment Technique: A Handbook for College Faculty เขียนโดย Elizabeth Barkley & Claire Major ที่พูดถึงวิธีการประเมินในระหว่างเรียน เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่อ่านง่าย และมีตัวอย่างการทำ formative assessment ในแต่ละระดับการเรียนรู้ตาม DeFink's Taxonomy of Significant Learning (หนังสือหรือบทความอื่นมักใช้ Bloom's Taxonomy)
🔎 Assessment as learning (AaL) เป็น formative assessment อีกแบบหนึ่ง แต่ไม่ได้เน้นที่เนื้อหาของบทเรียน แต่เน้นที่การพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยเน้นที่ Metacognitive คือ การรุ้ความสามารถในการคิดและการเรียนรู้ของตัวเอง ซึ่งจะนำพาให้ผู้เรียนเป็น independent learner มีทักษะด้าน self-directed learner หรือ self initiated learner สามารถถามคำถามที่เป็น "reflective questions" และหากลยุทธ์ในการเรียนรู้ และลงมือเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ในการประเมินแบบนี้ ผู้สอนมีหน้าที่
- แนะนำทักษะเหล่านี้ให้ผู้เรียน รวมทั้งหา "good practice" มาเป็นตัวอย่าง
- ช่วยผู้เรียนนการตั้งเป้าหมายการเรียนรู้และติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตัวเอง
- ช่วยผู้เรียนในการพัฒนาเกณฑ์การประเมิน good practice
- ช่วยผู้เรียนในการพัฒนาการให้ข้อมูลป้อนกลับแก่ตัวเอง และการติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ การเขียน reflection นับว่าเป็นกระบวนการที่ดีสำหรับขั้นตอนนี้ การเขียน reflection ทำได้หลายวิธี แต่ Gibb's Model เป็นวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ โดยอาจทำเพียงบางส่วน หรือทำจนครบทุกชั้นตอนก็ได้
- สร้างโอกาส และส่งเสริมให้ผู้เรียนทำ peer assessment และ self assessment
- ให้ feedback และเปิดโอกาสให้ได้พูดคุยกันถึงทางเลือกอื่น ๆ
ในเรื่องการประเมินยังมีอีกส่วนที่มีความำสคัญไม่แพ้กัน เพราะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้จริง คือการให้ผลสะท้อนการเรียนรู้ ที่เรารู้จักกันในชื่อของ Feedback ซึ่งจริง ๆ แล้ว มี 3 รูปแบบ คือ
1. Feed up เป็นการช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจว่าวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้คืออะไร เรียนรแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งเมื่อรู้แล้วจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มแรงจูงในการเรียนรู้ใจให้แก่ผู้เรียน
2. Feedback เป็นการช่วยเป็นเสียงสะท้อนให้ผู้เรียนทราบว่างานที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ และถูกต้องหรือไม่ และควรจะพัฒนาต่อไปอย่างไร
3. Feed forward เป็นการบอกผู้เรียนในภายหลัง อาจเป็นการหารือกันเรื่อง feedback และการนำ feedback นั้นไปใช้งานใน assignment ต่อไป หรือในรายวิชาต่อ ๆ ไป ได้อย่างไร
1. Feed up เป็นการช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจว่าวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้คืออะไร เรียนรแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ซึ่งเมื่อรู้แล้วจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยเพิ่มแรงจูงในการเรียนรู้ใจให้แก่ผู้เรียน
2. Feedback เป็นการช่วยเป็นเสียงสะท้อนให้ผู้เรียนทราบว่างานที่ทำนั้นเป็นอย่างไร ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ และถูกต้องหรือไม่ และควรจะพัฒนาต่อไปอย่างไร
3. Feed forward เป็นการบอกผู้เรียนในภายหลัง อาจเป็นการหารือกันเรื่อง feedback และการนำ feedback นั้นไปใช้งานใน assignment ต่อไป หรือในรายวิชาต่อ ๆ ไป ได้อย่างไร
Comments
Post a Comment