
วันที่ 9 ตุลา 2563 ได้ไปทานข้าวกับลูกศิษย์ PRT16 ที่บังเอิญรวมตัวกันได้แถว ๆ ม. คนหนึ่งทำงานในมหาวิทยาลัย คนนึงมาฝึกทักษะอาชีพเพิ่มเติมที่ใกล้ ๆ มหาวิทยาลัย และคนหนึ่งบ้านอยู่แถว ๆ มหาวิทยาลัย และกำลังหางานใหม่อยู่ ได้ทานอาหารกันไปคุยกันไป อาหารอร่อย คุยเพลิน bring back the good memory ลูกศิษย์รุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่หลักสูตรของภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ได้เปลี่ยนมาเป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์จึงนับว่าเป็นลูกศิษย์รุ่นแรกที่เรียนบรรจุภัณฑ์อย่างเป็นทางการ สมัยนั้นมีเวลาอยู่ที่ภาคค่อนข้างมาก มีวิชาสอนเยอะ จึงสนิทกับเด็กรุ่นนี้เป็นพิเศษ
จากการคุยกันลูกศิษย์ทั้ง 3 คนนี้ รวมทั้งตัวเอง (ที่เป็นอาจารย์สอนด้านบรรจุภัณฑ์ และมี passion ด้านบรรจุภัณฑ์อยู่มาก เพราะคิดว่าเราได้พบกับสิ่งที่ชอบแล้วจริง ๆ) พบว่าเราทั้ง 4 คนที่เริ่มรู้จักกันด้วยบรรจุภัณฑ์ แต่เดินออกมาทำงานหลักในด้านอื่นกันหมด ทั้ง ๆ ที่ตอนเรียน 2 ใน 3 คนนี้เรียนบรรจุภัณฑ์และเป็น advisee ตอน senior project จึงได้มีเวลาดูแลใกล้ชิด และรู้ว่าเค้าทำได้ดีในสิ่งที่เค้าเรียน คนนึงเป็นคนเรียนเก่งมาก อีกคนเด่นไปทางด้านการออกแบบ
เลยนึกมาถึงสิ่งที่เราคิดอยู่เสมอว่า "Education teaches you to do things that you are not educated for" หรือที่ได้ให้ quote ไปกับทาง HRD ตอนที่มาขอเพื่อนำไปทำ PR เรื่อง HEA ว่า "การสอนเป็นการเตรียมผู้เรียนให้สามารถทำสิ่งที่ไม่ได้เรียนมาได้" แต่เอาเข้าจริง ๆ ก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราได้เตรียมเค้ามาตลอด 4 ปี ช่วยให้เค้าสามารถ adapt ให้เข้ากับการทำงานใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้นรึเปล่า แต่สำหรับตัวเอง รู้สึกเลยว่า education ช่วยเตรียมมาจริง ๆ เพราะตอนที่เรียนอยู่ ได้มีโอกาสทำงานหลากหลายทั้งที่เคยและไม่เคยเรียนมา อย่างน้อยก็ทำให้ไม่เคยปฏิเสธเมื่อมีใครมาขอให้ทำอะไรที่ไม่เคยทำ (แม้มักจะอยากรู้ว่าเค้าเห็นอะไรในตัวเราถึงได้ชวนมาทำ)
จากบทสนทนา ทำให้กลับมาคิดว่าแล้วจริง ๆ เราควรยึดติดกับ content หรือไม่ แบบที่เรียกว่าต้องสอนทุกอย่างให้เด็กทั้งหมดแบบใส่ช้อนป้อนข้าวทั้งจาน หรือว่าเราควรทำแค่เพียงเพื่อเป็น scaffold เพื่อให้เค้าก้าวต่อไปในการ explore เรียนรู้ และทำได้ด้วยตัวเอง ในยุคที่ความรู้มีอยู่มากมาย การต้องไปรวบรวมความรู้ นำมาย่อย เพื่อมา lecture ให้เด็กฟังมีแต่จะทำให้อาจารย์เก่งขึ้นเท่านั้น ถ้าจะให้เด็กเก่งขึ้นเค้าก็คงต้องมีส่วนร่วมในการ search หาและประมวลความรู้เหล่านั้นด้วย แต่การจะคาดหวังให้เค้าทำแบบนั้นกับเนื้อหาทั้งหมดแบบที่เราทำเพื่อจะสอนเด็กในสมัยก่อน ก็คงจะทำให้วิชาเรียนน่าเบื่อเกินไปสำหรับเด็ก เค้าน่าจะรู้สึกไม่ต่างจากที่อาจารย์มายืนสอนให้ฟัง และอาจพาลทึกทักว่าอาจารย์ไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง (หน้าที่สอน) เพราะเอางานทีต้องทำมาให้เด็กทำหมด
เมื่อมา reflect จึงได้เห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริงของ student-centered หรือการเรียนแบบที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางสำคัญ เพื่อให้เค้าสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนกับสิ่งที่เค้าสนใจหรือสิ่งใกล้ตัวได้ดีขึ้น รวมทั้งการเรียนแบบ performance-based & authentic คือได้ลงมือคิด ลงมือทำ เป็นการนำความรู้ไปใช้ในระดับที่สูงขึ้น ตั้งแต่การประยุกต์ใช้ไปจนถึงการออกแบบ (ตาม Bloom's taxonomy) จะทำให้ความรู้ของเค้า meaningful และ stick มากขึ้น เหมือนกับคำพูดที่บอกว่า "It is not important of what you know but rather how do you use it"
กลับมาที่คำถามเริ่มต้นไว้ว่าแล้วเราจะสอนอะไร จริง ๆ แล้วสอนอะไรคงไม่สำคัญเท่ากับเด็กได้เรียนรุ้อะไร และสิ่งที่เค้าควรจะได้ติดตัวไปนอกจากความรู้เพียงพอในการประกอบอาชีพ (ซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นกับว่าเด็กอยากจะไปทำอะไร) และสิ่งที่อยากให้เด็กได้เรียนรู้คือ Transferable skill คือทักษะที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย และสามารถไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในอนาคต เช่น การสื่อสาร การแก้ปัญหา และ การทำงานเป็นต้น learning skill เป็นอีกอย่างที่จำเป็นมากในการไปเริ่มต้นทำงานใหม่ ๆ ซึ่งแม้ว่าจะทำงานใน field ที่เรียนมา ก็ยังจำเป็นต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเอง รวมทั้งการมี GRIT เพื่อจะ pursue their dream ด้วย
สรุปวันนี้ที่เจอกันนอกจากอิ่ม อร่อย มีความสุขที่ได้คุยกันแล้วยังได้กลับมาย้อนคิดทำให้ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกด้วย ขอบคุณอีฟ อาย แนท มากนะคะ 💙💛💜💖
Comments
Post a Comment