เมื่อสมัยก่อนเราจะรู้จัก "การศึกษาทางไกล" หรือ Distance Education เช่นมูลนิธิการศึกษาทางไกล หรือมหาวิทยาลัยเปิดอย่างสุโขทัยธรรมาธิราช เน้นที่การเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล จึงมีนิยามชัดเจนว่ามีระยะทางเป็นตัวกำหนดรูปแบบการศึกษาแบบนี้ "online learning" ในช่วง COVID-19 ก็มีนิยามที่คล้ายกันแต่ไม่ใช่ระยะทางจริง ๆ แต่เป็น social distance แต่ในความเป็นจริง Online-learning ยังมีประเด็นเรื่องเวลา เพราะ online learning เป็นวิธีการหนึ่งของ asynchronous learning ที่แปลว่าผู้เรียน และผู้สอนไม่ต้องเข้ามาเรียนพร้อม ๆ กันได้ การเรียนแบบ online learning จึงนับเป็นเป็นวิธีการที่จะใช้เทคโนโลยีในการทำให้เกิดการเรียนรู้โดยก้าวข้ามข้อจำกัดทั้งทางด้านเวลาและระยะทาง
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียน online ได้ และส่งผลกับประสิทธิภาพในการเรียนรู้เป็นอย่างมาก แต่การออกแบบการเรียนรู้ online จะต้องเป็น pedagogical orientation แล้วจึงไปเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยจะเน้นไปที่ 2 เรื่อง คือ
ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล ทั้งความเร็วของ internet และความสามารถของ App และ platform ต่าง ๆ ทำให้การเรียน online จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียง asychronous learning แต่จะมี synchronous learning ผสมอยู่ด้วยตามสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งนับเป็นข้อดีเพราะทำให้เราสามารถฝึก soft skill ที่เกี่ยวข้องกับ interpersonal skills จากกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการทำงานร่วมกัน และการอภิปรายกลุ่ม เป็นต้น และจากการทำงานร่วมกันนี้ ทำให้สามารถให้ assignment ที่มีระดับความยาก/ซับซ้อนใ้ห้ได้ ทำให้เกิดความท้าทายในการเรียนรู้ได้มากขึ้น
ถ้าเราใช้ concept ที่ว่า Blended learning เป็นการผสมผสานระหว่าง asynchronous & synchronous learning การเรียน online ในยุคนี้ก็อาจนับเป็นรูปแบบของ Blended Learning แบบหนึ่งได้เช่นเดียวกัน และใช้หลักการออกแบบเดียวกับ Blended learning เพียงแต่ strict อยู่ที่การเรียน online เท่านั้น โดยที่ผู้เรียนกับผู้สอนจะได้พบกันเพียงใน cyber space เท่านั้น
หมายเหตุ:
- Self-directed learner คือผู้เรียนที่สร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง engage กับการเรียน เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ สามารถประเมินการเรียนของตนเอง และปรับการเรียนรู้ให้เหมาะสม
- เนื้อหาสรุปมาจากบางส่วนของหนังสือ Assessment Stratrategies for Online Learning ผสมกับสิ่งที่เคยรู้จากการอ่าน และการลงมือทำ
ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะเป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้เกิดการเรียน online ได้ และส่งผลกับประสิทธิภาพในการเรียนรู้เป็นอย่างมาก แต่การออกแบบการเรียนรู้ online จะต้องเป็น pedagogical orientation แล้วจึงไปเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยจะเน้นไปที่ 2 เรื่อง คือ
- Communication & interaction ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับเนื้อหา และผู้เรียนกับผู้สอน
- Community of Inquiry ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ deep learning และการเรียนรู้ที่มีความหมาย โดยการพัฒนาผ่าน Social presence, cognitive presence และ teaching presence ที่ Conrad & Openo ได้สรุปไว้เป็นภาพที่แสดงความความสัมพันธ์ทั้ง 3 ส่วนนี้ไว้ให้เห็นภาพได้ง่าย
ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกล ทั้งความเร็วของ internet และความสามารถของ App และ platform ต่าง ๆ ทำให้การเรียน online จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่เพียง asychronous learning แต่จะมี synchronous learning ผสมอยู่ด้วยตามสัดส่วนที่เหมาะสม ซึ่งนับเป็นข้อดีเพราะทำให้เราสามารถฝึก soft skill ที่เกี่ยวข้องกับ interpersonal skills จากกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการทำงานร่วมกัน และการอภิปรายกลุ่ม เป็นต้น และจากการทำงานร่วมกันนี้ ทำให้สามารถให้ assignment ที่มีระดับความยาก/ซับซ้อนใ้ห้ได้ ทำให้เกิดความท้าทายในการเรียนรู้ได้มากขึ้น
ถ้าเราใช้ concept ที่ว่า Blended learning เป็นการผสมผสานระหว่าง asynchronous & synchronous learning การเรียน online ในยุคนี้ก็อาจนับเป็นรูปแบบของ Blended Learning แบบหนึ่งได้เช่นเดียวกัน และใช้หลักการออกแบบเดียวกับ Blended learning เพียงแต่ strict อยู่ที่การเรียน online เท่านั้น โดยที่ผู้เรียนกับผู้สอนจะได้พบกันเพียงใน cyber space เท่านั้น
หมายเหตุ:
- Self-directed learner คือผู้เรียนที่สร้างแรงจูงใจให้ตัวเอง engage กับการเรียน เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้ สามารถประเมินการเรียนของตนเอง และปรับการเรียนรู้ให้เหมาะสม
- เนื้อหาสรุปมาจากบางส่วนของหนังสือ Assessment Stratrategies for Online Learning ผสมกับสิ่งที่เคยรู้จากการอ่าน และการลงมือทำ
Comments
Post a Comment