Skip to main content

"เชลยศักดิ์" for learning society





วันนี้เดินผ่านตู้หนังสือ สะดุดตากับหนังสือเล่มสวยชื่อ "รอยลูกปัด" ของ คุณหมอ บัญชา พงษ์พานิช เลยหยิบติดมือมานั่งอ่าน ยังไม่ได้อ่านถึงเนื้อหาของหนังสือก็สะดุดตากับคำนิยมของ อ.ภูธร ภูมะธน ที่กล่าวถึงคำว่า "เชลยศักดิ์"​

เลยไปหาความหมายของคำนี้เพิ่มเติม ก็พบว่า สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้กล่าวถึงคำนี้ไว้ใน 2 ด้าน คือ
  1. การเอาคำสองคำมารวมกัน แปลได้ทำนองว่าผู้ที่ถูกข้าศึกจับตัวมา และเป็นผู้มีศักดิ์ กำลัง หรือฐานะสูง อย่างที่เห็นกันในละครเรื่อง "เชลยศักดิ์" 
  2. คำว่า "เชลยศักดิ์" เป็นคำโบราณ หมายความว่า อยู่นอกทำเนียบ นอกทะเบียน นั่นคือคนมีฝีมือแต่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ
จากคำนิยามทำให้มองคำนี้ได้ทั้งทางบวกและทางลบ ในทางลบ อาจดูว่าเป็นคน "เถื่อน" หรือไม่ถูกกฎหมาย แต่จริง ๆ แล้วอยากจะ focus ไปกับความหมายในเชิงบวกดังเช่นที่ อ.ภูธร ได้เขียนไว้ในคำนิยมของหนังสือว่าเป็นผู้ที่ใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง และนำพาให้เกิดเป็นสังคมของการเรียนรู้ กรณีนี้เป็นการกล่าวถึงผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ว่าได้ศึกษา เรียนรู้ ทำความเข้าใจข้อมูลมาอย่างดีจากหลากหลายแหล่งทั้งตำราวิชาการ งานวิจัย จนกระทั่งจากการพูดคุยกับนักขุด ขาย และสะสมลูกปัด โดยส่วนตัวแล้วมองว่านอกจากจะเป็นเชลยศักดิ์แล้วยังเป็นตัวอย่างที่ดีของการใฝ่รู้เพื่อก้าวข้าม epistemic border ใน 2 มุม คือข้ามจากศาสตร์ที่เรียนมาให้มาทำงานในศาสตร์ใหม่ได้ กับข้ามจากการศึกษาประวัติศาสตร์จากวงวิชาการ มาหาความรู้เพิ่มเติมจากคนอีกกลุ่ม (นักขุด ขาย และสะสมลูกปัด)

มานึกถึงตัวเองว่าเราก็น่าจะเป็นนักการศึกษาเชลยศักดิ์ เช่นกัน แต่ความสามารถยังคงห่างไกลนักประวัติศาสตร์เชลยศักดิ์อย่างคุณหมอบัญชามากนัก เห็นคุณหมอบัญชาศึกษา และตั้งใจทำหนังสือเล่มนี้ ก็จะเป็นอีก inspiration นึงที่จะทำให้ต้อง focus attention และใช้เวลากับงานด้านการศึกษาให้มากขึ้น ถึงแม้จะเสียดายสิ่งที่รักอย่างงานด้านบรรจุภัณฑ์ก็ตาม และต้อง keep our hope high ว่าสิ่งที่ทำ วันนึงจะกลับไป benefit ให้วงการบรรจุภัณฑ์ในทางใดทางหนึ่ง







Comments