Rethinking education for the new normal
เมื่อมาคิดถึง new normal และได้ยินผู้มีประสบการณ์หลายท่านมาพูด โดยเฉพาะในช่วงการเรียนออนไลน์ เลยทำให้นึกว่า Blended Learning น่าจะเป็น new normal ทางการศึกษา โดยปกติแล้ว blended learning จะหมายถึงการเรียน online ผสมกับการเรียนแบบมาเจอหน้ากัน เรียกว่าใช้ประโยชน์จากการเรียนทั้งสองแบบให้ได้มากที่สุด เป็นสิ่งที่ใช้กันอยู่ในมหาวิทยาลัยบางแห่ง และมีคนเขียนหนังสือเรื่องนี้ออกมามากมาย เล่มหนึ่งเป็นหนังสือของของ Katie Linder เจ้าของ podcast หลายอันทางด้านการศึกษา การ coach และ การทำงาน ที่ฟังอยู่เป็นประจำ เป็นเรื่องการออกแบบ Blended Learning อีกเล่มเป็นของเพื่อนรัก และแขกรับเชิญคนแรกของ CELT Webinar Emmanuel Jean Francois ที่เน้นเรื่อง blended learning สำหรับ transcultural perspective
แต่ก็ยังมีข้อสงสัยว่าแล้วมันจะเป็น New Normal ได้อย่างไร ถ้าเรายังมีเด็กที่เข้าไม่ถึง คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งไฟฟ้า จึงได้กลับมาย้อนคิดว่าถึงหลักการพื้นฐานของ Blended learning แล้วคิดว่ามันมีความน่าจะเป็นว่าจะเป็นไปได้ เพราะ Blended learning จริง ๆ แล้ว มันคือผสมผสานระหว่างการเรียน 2 แบบ คือ
- แบบที่ทุกคนเรียนพร้อมกัน (synchronous learning) เน้นที่การมีปฏิสัมพันธ์ ทำงานร่วมกัน เป็นการสร้างทักษะระหว่างบุคคล และการทำงานใหญ่ ท้าทาย ที่ผู้เรียนไม่สามารถทำคนเดียวได้ในเวลาที่กำหนด
- การเรียนแบบที่ต่างคนต่างเรียน ไม่จำเป็นต้องมาเรียนพร้อมกัน (asynchronous learning) เน้นการเรียนเพื่อให้รู้ การฝึกฝนต่าง ๆ ที่สามารถทำได้คนเดียว และมีข้อดีคือสามารถเรียนรู้เร็ว หรือช้าได้ตามต้องการ (self-paced learning) ไม่ต้องเรียนไปพร้อม ๆ กับเพื่อนที่อาจมีความสามารถในการเรียนรู้ต่างกัน
เมื่อเราไม่ติดกรอบกับการเรียนการสอนแบบ Blended learning ที่จะต้องเป็นการผสมกับการเรียน online เสมอ เราก็จะออกแบบการเรียรู้ Blended learning ให้สามารถตอบสนองกับบริบทของผู้เรียนและสถานการณ์ได้ดีขึ้น และหัวใจสำคัญจึงมาอยู่ที่ ครู ผู้เป็น learning designer จะมาออกแบบบทเรียน โดยมีคำถามหลัก ๆ ที่จะต้องตอบ 3 เรื่องในการออกแบบ
- เราอยากให้เด็กทำอะไรได้หลังจากเรียนบทเรียนจบแล้ว (Learning outcome) ซึ่งควรจะมีความชัดเจน โดยใช้หลัก SMART (Specific, Measurable, Achievable, Relevance and Time-bound ในการเขียน
- เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเด็กทำได้แล้ว (Assessment) หรือเรียกเป็นทางการว่าเป็นการประเมินผล ซึ่งไม่เหมือนกับการสอบ การสอบอาจจะเป็นการประเมินผลวิธีหนึ่งซึ่งจะประเมินได้เฉพาะความรู้โดยเฉพาะความจำกับเข้าใจเท่านั้น แต่ blended learning เราอยากให้ผู้เรียนทำได้มากกว่านั้น เราจึงต้องปรับวิธีการประเมินกันใหม่ด้วย
- เราจะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้อย่างไรเพื่อให้เด็กสามารถทำในสิ่งที่เราอยากให้ทำได้ (Learning activitites) ตรงนี้เองที่จะสามารถเลือกใช้วิธีการ synchronous หรือ asynchronous ให้เหมาะสมกับบริบท และสถานการณ์
ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้แบบเรียนไม่พร้อมกัน (asynchronous learning)
- การเรียน online ซึ่งใช้ได้ดีกับกลุ่มผู้ที่มีอุปกรณ์ IT และสามารถเข้าถึง internet ได้
- ใช้ VDO clip ที่ทำขึ้นเองหรือรวบรวมแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ThaiMOOC, Udemy, Khan Academy และ YouTube เป็นต้น ให้ผู้เรียนเข้าไปดู
- ใช้ interactive VDO (VDO แต่เพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เช่นการมี quiz ในระหว่างดู VDO) เช่น ใน EdPuzzle ซึ่งจะสามารถเอา VDO ไปใส่แล้วทำ clip เอง หรือใช้ VDO ที่คนอื่นทำแล้ว และ upload ไว้ใน EdPuzzle ก็ได้
- กรณีที่ไม่อุปกรณ์ IT
- หนังสือเรียน หรือเอกสารที่ครูจัดทำขึ้นเพื่อให้เนื้อหาเหมาะสม แต่อาจต้องหาวิธีการอื่น ๆ ให้ ในการทำให้เด็ก engage เช่น การทำ visual notetaking หลังจากอ่าน
- การให้นักเรียนไปเก็บข้อมูล หรือฝึกฝนทักษะ เช่น
- การวัดความสูงของต้นไม้
- การฝึกทักษะกีฬา เช่น ฝึกฝนการเดาะปิงปอง
- การทำแบบฝึกหัด
ตัวอย่างของการจัดการเรียนรู้แบบเรียนพร้อมกัน (synchronous learning)
- กรณีที่สามารถมาเรียนที่โรงเรียนได้ปกติ ก็จะไม่มีปัญหามากนัก สามารถทำกิจกรรม active learning ได้ตามปกติ แต่จะสามารถใช้เวลาระหว่างครูกับเด็กได้อย่างมีความหมายมากขึ้น
- ในกรณีที่ถ้ายังต้องทำ social distancing ก็อาจมีทางออกโดยผู้เรียนไม่ต้องมาทำกิจกรรมพร้อมกันหมด อาจผลัดกันมาทีละส่วน ซึ่งก็จะยังมีเวลาที่พอเพียงได้ เพราะเวลาการเรียนการสอนส่วนหนึ่ง เด็กได้เรียนที่บ้านไปแล้ว
- กรณีที่ยังมาเรียนไม่ได้
- นักเรียนมีความพร้อมทั้งอุปกรณ์ IT และ internet อาจใช้การประชุมกลุ่มกันทาง application เช่น Zoom, Line, Facebook group, MS Team
- นักเรียนที่ไม่สามารถเข้าถึง internet ได้ อาจใช้โทรศัพท์ แต่ครูต้องแบ่งกลุ่มให้เล็กลง (เหลือเพียง 2 คน) และ design กิจกรรมให้เหมาะสม
💙💙💙แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีใด "ครู" นับเป็นสมองและหัวใจของการเรียนนี้ ที่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอยู่กับเด็ก (teacher presence) เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ และ "ผู้เรียน" จะเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้ ที่ครูจะต้องรู้จักบริบทของเด็กทั้งในด้านความพร้อมของเครื่องมือ ความพร้อมในการเรียนรู้ และความสนใจของเด็ก💙💙💙
🙈🙉🙊
หมายเหตุ
การเรียนทาง TV หรือที่เรียกว่า onair ก็นับว่าเป็นวิธีหนึ่งของ synchronous learning เพราะผู้เรียนต้องมาเรียนพร้อมกัน แต่ไม่ต้องมานั่งอยู่ในที่เดียวกัน อาจเป็น temporary normal ในยามจำเป็น แต่นับว่าไม่ได้เป็นการใช้ประโยชน์ของ synchronous learning อย่างถูกวิธีและอาจมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ผู้เรียนที่เรียนได้ช้า ตามไม่ทันก็จะหลุดประเด็นไป ไม่รู้จะไปถามใคร ผู้เรียนที่เรียนได้เร็ว ก็จะเบื่อ และในกรณีมีการหยุดชะงัก เช่น ไฟฟ้าดับไป 5 นาที เมื่อกลับมา อาจจะไม่สามารถเข้าใจบทเรียนนั้นแล้ว แต่บทเรียน onair/online ที่มีคุณภาพ ก็นับเป็นสิ่งที่มีคุณค่าที่จะช่วยครูในเวลาที่ครูเตรียมบทเรียนสำหรับ asynchronous leaning ได้
Comments
Post a Comment