Skip to main content

Recycling research to practice

เมื่อวันหนึ่งมีเพื่อนในวงการบรรจุภัณฑ์ที่มีโอกาสได้รู้จักระหว่างเรียนหนังสือที่ Michigan State University ได้ติดต่อมา และชวนให้ทำ research study เล็ก ๆ เรื่องการรีไซเคิล งานนี้ได้ อ.สายลมกับติ๊กมาเป็นกำลังหลัก เราวางแผนทำงานกันอยู่ไม่นานนักเพื่อนร่วมงานก็เริ่มออกปฏิบัติการเก็บข้อมูลภาคสนามทันที กว่าจะได้มีเวลาออกไปกับเพื่อน ๆ ก็ปลายโปรเจคแล้ว ต้องขอบคุณติ๊กกับอ.สายลมมาก ๆ ที่มาเรียนรู้และทำงานร่วมกัน ทำให้งานสำเร็จไปด้วยดี

ในขณะที่ผลวิจัยเรื่องการ recycle ขวด PET (ขวดที่มีลักษณะใส ๆ มีสัญลักษณ์ recycle เบอร์ 1) ไม่สามารถเปิดเผยได้ แต่ lesson learned จากโครงการนี้ก็เป็นประโยชน์กับความเข้าใจ เพื่อนำไปใช้กับการ recycle ในชีวิตประจำวัน

1. ฉลากและขวดถ้าเป็นพลาสติกชนิดเดียวกัน สามารถ recycle ด้วยกันได้ แต่ในบ้านเรามักจะเป็นคนละชนิดกัน ระบบในบ้านเราจึงเอาฉลากทั้งหมดออกจากขวดโดยไม่พิจารณาว่าฉลากจะเป็นชนิดไหน
  • ผู้บริโภค ควรแกะฉลากออกจากขวด เพราะจะทำให้ขวดขายได้ราคาแพงขึ้น (เราอาจจะขายให้ซาเล้งได้ในราคาเดิม แต่คุณซาเล้งจะไปขายได้ราคาที่แพงขึ้น) 
  • ผู้ผลิตและผู้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ น่าจะพยายามทำให้ฉลากกับขวดเป็นวัสดุประเภทเดียวกัน (technically viable and commercially available แล้ว แต่ราคาอาจสูงกว่าฉลากแบบเดิม) ข้อมูลเพิ่มเติมในการทำฉลากที่สามารถ recycle ไปกับขวดได้เลย สามารถดูเพิ่มเติมได้โดยคลิกที่นี่ หรือ checkout APR Design Guide
  • กฎหมาย/มาตรฐาน กำหนดให้ระบุชนิดวัสดุฉลาก (ปัจจุบันกำหนดให้ระบุแต่วัสดุที่ทำขวด) และมีการกำหนดสัญลักษณ์มาตรฐานว่าฉลากนี้สามารถ/ไม่สามารถ recycle ไปกับขวดได้
2. การทิ้งขวด โดยเฉพาะขวดที่ยังมีฉลาก ไม่ควรบิดขวด เพราะกระบวนการแยกฉลากออกจะทำลำบาก (ทั้งการแยกโดยคนและแยกโดยเครื่อง) ถ้าต้องการให้ประหยัดพื้นที่การจัดเก็บให้บี้ขวดให้แบนแทน

3. ฝากับขวดมักจะเป็นพลาสติกคนละชนิดกัน จึง recycle ด้วยกันไม่ได้ ในระบบการ recycle ปกติจะมีเครื่องที่แยกพลาสติกจากขวดกับฝาออกจากกันได้ อย่างไรก็ตามในเมืองไทยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแนะนำให้ผู้บริโภคแยกฝากับตัวออกจากกันก่อน (เข้าใจว่าเพื่อลดโอกาสการปนกันระหว่างพลาสติกสองชนิดในระหว่างการแยกวัสดุ) ในขณะที่บางประเทศแนะนำให้ทิ้งฝากับขวดด้วยกัน (เข้าใจว่าเพื่อเพิ่ม recycling rate เนื่องจากฝาอาจจะหลุดรอดูไปไม่ได้ถูกเก็บมา recycle ถ้าไม่ติดอยู่ที่ตัวขวด)

4. การเลือกซื้ออาหาร แน่นอนว่าอาหารเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจ แต่ถ้าเมื่อบรรจุภัณฑ์มีผลกับการตัดสินใจ มีข้อแนะนำ (based on recyclability) คือ
  • เลือกขวด PET ที่ใส เพราะขวดสีอื่น ๆ เช่นเขียวเข้ม เหลืองสะท้อนแสง หรือแม้กระทั่งมีสีจาง ๆ จะไม่สามารถ recycle รวมกับขวดใสได้ หลาย ๆ ครั้งผู้รับซื้อจะไม่รับซื้อ หรือขวดเหล่านี้จะถูกคัดออกในระหว่างการรวมไปขายให้กับโรงงาน recycle
  • เลือกขวดที่มีฉลากขนาดเล็กกว่า (แน่นอนว่าใช้วัสดุน้อยกว่า และการแยกฉลากทำได้ง่ายกว่า ฉลากแบบ full sleeve หรือหุ้มทั้งขวดจะเอาออกได้ยาก)
5. ข้อแนะนำ (based on recyclability) สำหรับผู้ออกแบบ ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ หรือเจ้าของผลิตภัณฑ์
  • ใช้ขวดใส (ถ้าเป็นไปได้)
  • ทำฉลากให้มีขนาดเล็ก (องค์กรด้านการ recycle แนะนำว่าไม่ให้เกิด 60-75% ของตัวขวด)
  • ทำฉลากให้สามารถแกะออกจากตัวขวดได้ง่าย เช่น มีเส้นปรุ เพื่อให้ฉีกฉลากออกได้ การไม่ใช้ full sleeve
  • ใช้ Design Guide ในการเลือกและออกแบบฉลาก
6. ฝากถึง legislator เรื่อง rPET (recycled PET) ตอนนี้ในหลายประเทศกำหนดให้ rPET เป็น food contact material ได้ แต่ประเทศไทยยังมีกฏหมายห้ามการใช้วัสดุ recycled เป็นบรรจุภัณฑ์ที่สัมผัสกับอาหาร ถ้าเราสามารถทำให้ rPET ใช้กับบรรจุภัณฑ์อาหารได้จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับการ recycle PET อีกมาก


Comments